IKIGAI Organization ชีวิตจริงไม่เหมือนทฤษฏี

Sun-light
อะไรบางอย่าง | ตัวเรา | การให้ความหมายสำคัญ

     ในบทความที่แล้ว ผมได้บอกไปว่า อิคิไก คือ อะไรบางอย่างที่เราไปให้ความหมายมันว่ามันสำคัญกับชีวิตของเรา
ดังนั้นถ้าเราลองแยกองค์ประกอบตามความหมายนี้ ก็จะพบคีย์เวิร์ดที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ อะไรบางอย่าง,ตัวเรา และการให้ความหมายสำคัญ
ชีวิตในข้อแรก “อะไรบางอย่าง” หัวข้อนี้ผมได้อธิบายไปแล้วว่า อิคิไกมันจะเป็นอะไรก็ได้ เป็นคนก็ได้ เป็นงานก็ได้
ไม่ได้จำเพาะว่าต้องเป็นอาชีพเท่านั้นข้อที่สอง “ตัวเรา” หมายถึงว่า อิคิไกมันเป็นเรื่องของเรา เพราะงั้น อิคิไกของเราไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น
และก็ไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากคนอื่น มันไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอกใดๆ แต่อยู่ที่ตัวเราคนเดียว และคำว่า “ตัวเรา” ยังหมายความว่า
เรานี่แหละที่เป็นคนทำให้อะไรบางอย่างนั้นคืออิคิไก เราสามารถเลือกได้ อะไรที่เราบอกว่านั่นคืออิคิไก ก็เพราะเราเลือกว่าจะให้มันเป็นอิคิไก
เช่นกัน อะไรที่เราบอกว่า นั่นไม่ใช่อิคิไกของเรา ก็เพราะเราเลือกว่าไม่ให้สิ่งนี้เป็นอิคิไก

     การพิสูจน์ว่า สิ่งใดเป็นอิคิไกหรือไม่ จึงต้องใช้ ความคิดและความรู้สึกของตัวเรา เป็นสำคัญ เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะให้คนๆหนึ่ง
ซึ่งอาจจะมีความรู้และประสบการณ์มากกว่าจะมาบอกว่าอิคิไกของเราคืออะไรตั้งแต่ผมทำการโค้ชด้านอิคิไก
ผมพบว่ามีผู้บริหารหลายท่านที่ติดต่อขอรับการโค้ช ท่านเหล่านั้นต้องการนั่งคุยกับผมและให้ผมบอกว่าอิคิไกของเขาคืออะไร
ซึ่งผมก็ได้ตอบปฏิเสธและแจ้งว่า ไม่มีใครสามารถหาอิคิไกให้ใครได้ ที่สำคัญ ผมพบว่าวิธีแบบนี้น่ากลัวอย่างยิ่ง
หากผู้รับการโค้ช “เทหมดหน้าตัก” กับสิ่งที่เชื่อว่าเป็นอิคิไกของชีวิต ในชีวิตผม ผมเห็นหลายคนที่ “ล่มจม”
เนื่องจากการเชื่อคนใกล้ชิดมากเกินไป มีนักลงทุนท่านหนึ่งกำลังตัดสินใจว่าจะลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งดีหรือไม่
ปรากฏว่าไปปรึกษากับญาติคนหนึ่งที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ญาติแนะนำว่าให้ลงทุนได้เลย นักลงทุนท่านนี้ก็เชื่อและ
“เทหมดหน้าตัก” สุดท้ายก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด เมื่อไปหาญาติคนนั้น สิ่งที่ได้รับคือคำขอโทษคำเดียว
ส่วนตัวเองก็ต้องผ่อนหนี้นั้นต่อไปอีกหลายปี       

      การให้คำปรึกษาคนนั้นไม่ยาก เพราะคนให้คำปรึกษาไม่ได้รับผลกระทบหากเกิดความเสียหาย 
คนที่อยู่หน้างานจริงๆต่างหากที่ได้รับผลกระทบ การให้คนอื่นมาค้นหาอิคิไกของเราก็เช่นกัน คนแนะนำไม่ได้รับผลกระทบ

คนที่ได้รับผลกระทบก็คือเรา เพราะเป็นชีวิตเรา ดังนั้นหากท่านต้องการค้นหาอิคิไกโดยการพึ่งคนอื่น
ท่านจะต้องใช้ความรอบคอบเป็นอย่างมากการค้นหาอิคิไกของตนเองก็เช่นกัน ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากๆ
เกี่ยวกับอิคิไกก็คือ การเชื่อว่าเราต้อง “ค้นหา” อิคิไก ผมเน้นคำว่าค้นหา เพราะการค้นหาหมายถึง สิ่งนั้นมีอยู๋แล้ว
แต่ยังไม่ได้ถูกพบหรือนำมาใช้ เราจึงต้องค้นหามัน เพื่อดึงมันออกมาเพราะเมื่อเรา “เชื่อ” ว่า มันมีอยู่แล้ว สิ่งที่เราทำก็คือค้นหามัน
ซึ่งผิด แท้จริงอิคิไกไม่ได้มีอยู่เดิม แต่ถูก “สร้าง” ขึ้นใหม่จากประสบการณ์ของเรา เรานี่แหละเป็นคนสร้างให้สิ่งนั้นเป็นอิคิไก
อิคิไกไม่ได้มีอยู่เดิม แต่ถูก “สร้าง” ขึ้นใหม่จากประสบการณ์ของเราผมคิดว่าอัตราส่วนของคนที่เกิดมาแล้วรู้ว่า
อะไรคือเหตุผลของชีวิตเขาตั้งแต่ยังเด็ก มีจำนวนไม่มาก ที่สำคัญคือเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะรู้สึกชอบสิ่งนั้นโดยไม่เคยมีประสบการณ์
กับเรื่องนั้นเด็กที่ชอบเล่นเปียโนอาจจะเคยได้ยินเสียงเปียโนแล้วรู้สึกประทับใจในเสียงนั้น โตมาก็เลยอยากที่จะบรรเลงเครื่องดนตรี
ที่สร้างเสียงนั้นเราจะรู้สึกชอบอะไรบางอย่างได้ เราต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นเสมอแต่ประสบการณ์ของเราในแต่ละวัน
ก็เยอะเหลือเกิน แล้วอะไรกันที่สามารถกลายมาเป็นอิคิไกของเราในภายหลังคำตอบคือ ประสบการณ์ที่สามารถกลายมาเป็นอิคิไกได้
จะต้องเป็นสิ่งที่เรา “รู้สึก” ว่าสิ่งนั้นมีความหมายกับเรา

     เด็กคนหนึ่งอาจจะถูกสอนว่าต้องเป็นลูกผู้ชาย วันหนึ่งไปพบวิชาคาราเต้และก็ “รู้สึก” ว่าสิ่งนี้สามารถตอบสนองการเป็นลูกผู้ชายได้
หลังจากนั้นเด็กคนนี้ก็เข้าสู่วิถีแห่งคาราเต้ และคาราเต้ก็กลายเป็นอิคิไกของเขาในที่สุดความจริงแล้วสิ่งที่เขาต้องการไม่ใช่คาราเต้
แต่เป็นความหมายในการฝึกคาราเต้ ที่ตอบสนองค่านิยมและความเชื่อของตนเอง และโดยปกติเวลายกเคสอิคิไก
เรามักยกตัวอย่างของคนเหล่านี้ คนที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นว่าตนเองต้องการอะไรแต่ในความเป็นจริง มีหลายคนที่ตอนเด็กตั้งใจไว้อย่างหนึ่ง
แต่พอโตมากลับกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง และเมื่อทำงานแล้วก็เปลี่ยนเป็นอีกอย่างหนึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะพบว่าตนเองชอบทำซูชิมาตั้งแต่แรก
บางคนตอนเด็กอาจจะอยากเป็นนักบิน พอโตมาอาจจะอยากเป็นวิศวะกร และสุดท้ายอาจจะจบลงที่เปิดร้านขายส้มตำธรรมดาอิคิไก
คือความหมายของชีวิต เรากำลังพูดเรื่องชีวิต และชีวิตมีองค์ประกอบอื่นๆอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ความชอบอย่างเดียวมีคนใกล้ชิดผมมากมาย
ที่ไม่ได้ชอบเรียนวิชากฎหมายและก็ไม่ได้อยากทำงานด้านกฎหมาย ที่ลงสาขานี้เพราะเห้นว่าคะแนนต่ำ น่าจะสอบเอนทรานซ์เข้าได้
ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร แค่อยากสอบเข้ามหาวิทยลัยของรัฐให้ได้ ให้เป็นเกียรติแก่ทางบ้าน ให้พ่อแม่ภูมิใจหลังจากสอบได้แล้วก็ต้องทนเรียน
เพราะไม่ชอบสาขาวิชานี้ เรียนจนจบก็ต้องทำงานในสายนี้ เพราะจบมาสายนี้ ความรู้ด้านอื่นก็ไม่มี สุดท้ายก็ได้ทำงานในสำนักงานกฎหมาย
แห่งหนึ่ง และก็ทำมาจนถึงปัจจบันตอนนี้ไปถามเขา เขากลับบอกว่าเขาชอบกฎหมาย ชอบวิชานี้ และดีใจมากที่ได้เรียนวิชานี้
ตอนนี้การทำคดีความกลายเป็น Passion ของเขาไปแล้ว ตอนนี้เขามีความสุขกับงานนี้มาก และอยากตื่นมาทำงานทุกวันเขาบอกผมว่า
ถ้าตอนนั้นเขาตัดสินใจ “เลิกทำ” สิ่งที่คิดว่าไม่ใช่ และมุ่งไปทำแต่สิ่งที่ตัวเองคิดว่าใช่ เขาอาจจะไม่มีความสุขเหมือนทุกวันนี้ในตอนแรก
เขาไม่ได้ชอบ ไม่ได้รัก ทำได้ไม่ค่อยดีด้วย เพียงแต่บริบทและสภาพแวดล้อมมันบังคับให้เขาต้องอยู่กับสิ่งนั้น

     ความเป็นจริง หลายครั้งที่เราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะทำอะไร ชีวิตจริงมีองค์ประกอบอื่นๆเยอะมาก
การเงินและปากท้องก็เป็นปัจจัยสำคัญ
แม้ไม่ชอบ ไม่อยากทำแต่ก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอดแต่แม้จะทำสิ่งที่ไม่ชอบ 

สิ่งนั้นก็กลับกลายมาเป็นอิคิไกในภายหลังได้ ประเด็นของอิคิไก
จึงไม่ได้อยู่ที่การได้ทำในสิ่งทีชอบ แต่อยู่ที่การชอบในสิ่งที่ทำต่างหากประเด็นของอิคิไกจึงไม่ได้อยู่ที่การได้ทำในสิ่งทีชอบแต่อยู่ที่การชอบ
ในสิ่งที่ทำต่างหากและเพราะเหตุนี้ อิคิไกถึงต้อง “สร้าง” ขึ้นมาจากตัวเราเองไม่ใช่การค้นหาว่า “สิ่งใด” คืออิคิไกของเรา แต่เป็นค้นหาว่า
“เราจะชอบสิ่งที่ทำได้อย่างไร”พูดอีกนัยยะหนึ่ง มันคือการหาความหมายของสิ่งที่เราทำ ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันมีความหมายอย่างไร
การค้นหาความหมายของสิ่งที่เราทำนั่นแหละ คือการ “สร้าง” ให้อิคิไกเกิดขึ้น

Panat-Sociallabthailand
Writer Profile
Panat Neramittagaphong
Project Manager Social Lab Thailand

Leave a Comment