การสื่อสารในภาวะวิกฤต

  • พูดน้อยลง พูดให้ดีกว่าเดิม
  • พูดด้วยหัวใจของคุณ &
  • เมื่อคุณไม่รู้ ก็บอกว่าคุณไม่รู้ เพราะไม่มีทางที่คุณจะรู้ทุกเรื่อง

 

การสื่อสารในภาวะวิกฤต สถานการณ์ที่มีความสับสน วุ่นวาย ซับซ้อน

  1. พูดน้อยลง สื่อสารเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ – ควรน้อยลงอย่างมาก – เพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ผิดพลาด / อันตราย
  2. น้ำเสียงแห่งความจริงใจ น้ำเสียงคือทุกอย่าง ความเห็นอกเห็นใจ การมองสบตาและในระดับบุคคล ระหว่างบุคคลต่อบุคคล ฉันรู้ว่าคุณรู้ว่าฉันรู้ และเรากำลังเผชิญความท้าทายร่วมกัน สิ่งนี้เกิดขึ้นกับฉันเช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ
  3. เข้าใจภาวะอารมณ์ที่ผู้คนในสังคม ที่กำลังเผชิญภาวะวิกฤต เริ่มในช่วงแรกผู้คนจะเกิดการตระหนก ความหวาดกลัวเกิดการชะงัก ทำอะไรไม่ถูก และอาจจะมีพฤติกรรมเช่นการกักตุน สะสมของ ให้ความสำคัญกับการปกป้องตนเอง และน่าประหลาดใจที่ผู้คนสามารถเปลี่ยนเป็นการนึกถึงผู้อื่น เปลี่ยนเป็นโฟกัสภายนอกได้อย่างรวดเร็ว ฉันจะช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร ฉันจะหยุดการหยุดชะงักเป็นอัมพาตได้อย่างไร ฉันจะลงมือช่วยอะไรบางอย่างได้บ้าง
  4. การสร้างการมีส่วนร่วม และเปิดใจรับฟัง ให้ความสำคัญกับความเข้าใจทางวัฒนธรรมของคนในสังคม บริบทท้องถิ่น และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นว่าทำไมความคิดนั้น มาตรการความพยายามนั้น ๆ จึงไม่เหมาะสม และไม่เห็นด้วย
  5. มุ่งสร้างพลังงานบวก การสื่อสารที่สร้างความหวัง การให้ขวัญกำลังใจ ใช้มาตรการการให้รางวัล ชื่นชมและหลีกเลี่ยงการลงโทษ ตำหนิว่ากล่าว
  6. สื่อสารให้ง่าย ลดความซับซ้อน ทำสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ ทำให้เห็นสิ่งที่มองไม่เห็น เพื่อทำให้เป็นรูปธรรมที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจ สื่อสารโดยใช้ข้อมูลและการออกแบบการสื่อสารที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์
  7. ทำงานร่วมกับผู้นำทางธรรมชาติ ผู้นำท้องถิ่น แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ให้ข้อมูลแก่พวกเขาเพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเราสื่อสารได้

 

ในช่วงวิกฤต COVID-19 ในตอนนี้สิ่งสำคัญคือการอยู่กับปัจจุบันขณะ และสงบสติอารมณ์ จะมีความสับสนวุ่นวายและความเครียดมากมาย

หยุดการสร้างข่าวร้าย อย่าตอกย้ำเชิงลบ

ร่วมกันสร้างความหวัง สร้างพลังงานบวกมากขึ้น

การสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจเป็นสิ่งจำเป็นในขณะนี้ 

การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วย ความเอื้ออาทร ความรัก


Dr-Udom-Sociallabthailand

Writer Profile
Udom Hongchatkul, Ph.D.
Founder & CEO Social Lab Thailand